รายงานตัวชี้วัด "สถานภาพทรัพยากรดิน พ.ศ. 2561"
ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน
อ่าน 4074 ครั้ง
หมายเหตุ:
เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดย่อย
ตัวชี้วัดย่อย | หน่วยนับ | ก่อนหน้า | ล่าสุด | ค่าความต่าง |
---|---|---|---|---|
พื้นที่อื่นๆ (SOE 66) | ไร่ | 10,461,777 2561 | - | 0 |
พื้นที่ลาดเชิงซ้อน (SOE66) | ไร่ | 101,585,093 2561 | - | 0 |
ดินตื้น (SOE66) | ไร่ | 38,187,167 2561 | - | 0 |
ดินทรายจัด (SOE66) | ไร่ | 11,861,976 2561 | - | 0 |
ดินเปรี้ยว (SOE66) | ไร่ | 5,422,891 2561 | - | 0 |
ดินเค็ม (SOE66) | ไร่ | 4,199,530 2561 | - | 0 |
ดินอินทรีย์ (SOE66) | ไร่ | 345,396 2561 | - | 0 |
ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ (SOE66) | ไร่ | 98,869,386 2561 | - | 0 |
ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง (SOE66) | ไร่ | 49,763,676 2561 | - | 0 |
1. ตัวเลขห้อย หมายถึง ปีพ.ศ. ของข้อมูลตัวเลขในตัวชี้วัดนั้นๆ
2. การเปลี่ยนแปลง ร้อยละ คำนวณได้จาก = ((ข้อมูลปัจจุบัน - ข้อมูลปีก่อนหน้า) x 100) / ข้อมูลปีก่อนหน้า
สถานการณ์ทรัพยากรดินซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ รวมทั้งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ จากข้อมูลสถานภาพทรัพยากรดินของประเทศไทย พ.ศ. 2561[1] ประเทศไทยมีเนื้อที่ทั้งหมด 320,696,893 ไร่ จำแนกตามลักษณะและสมบัติดินเป็น 4 ประเภทดิน ได้แก่
(1) ดินที่มีศักยภาพสำหรับการเกษตร[2] มีเนื้อที่ 148,633,062 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.35 ของเนื้อที่ประเทศ แบ่งออกเป็นดินที่มีคุณภาพปานกลางถึงสูง 49,763,676 ไร่ และดินมีคุณภาพต่ำที่ต้องปรับปรุงบำรุงดิน 98,869,386 ไร่
(2) ดินที่มีศักยภาพต่ำสำหรับการเกษตร[3] มีเนื้อที่ 60,016,961 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18.71 ของเนื้อที่ประเทศ โดยจำแนกตามสาเหตุการเกิดได้ 2 ประเภท คือ ดินที่มีศักยภาพต่ำสำหรับการเกษตรที่เกิดตามธรรมชาติ ได้แก่ ดินอินทรีย์ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินตื้น ซึ่งส่วนใหญ่พบปัญหาดินตื้นมากที่สุด มีเนื้อที่ 38,187,167 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11.90 รองลงมาดินทรายจัด มีเนื้อที่ 11,861,976 ไร่ ดินเปรี้ยวจัด มีเนื้อที่ 5,422,891 ไร่ ดินเค็ม มีเนื้อที่ 4,199,530 ไร่ และดินอินทรีย์ มีเนื้อที่ 345,396 ไร่ ส่วนดินที่มีศักยภาพต่ำสำหรับการเกษตรที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสม เช่น ดินดาน ดินปนเปื้อน ดินเหมืองแร่ร้าง ดินในพื้นที่นากุ้ง และดินที่เกิดจากการชะล้างพังทลาย เป็นต้น โดยดินที่เกิดการชะล้างพังทลายที่ต้องการการดูแล ป้องกัน และรักษา มีเนื้อที่ 108,876,886 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 33.95 โดยดินที่มีศักยภาพต่ำสำหรับการเกษตรหากขาดการจัดการที่ดีจะก่อให้เกิดสภาวะดินเสื่อมโทรม[4] เช่น เกิดการชะล้างพังทลายของดิน เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารในดิน ทำให้ความสามารถในการผลิตลดลง เป็นต้น
(3) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีเนื้อที่ 101,585,093 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.68 ของเนื้อที่ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่าง ๆ บางพื้นที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรประเภทต่าง ๆ หรือใช้เป็นที่อยู่อาศัย
(4) พื้นที่อื่น ๆ มีเนื้อที่ 10,461,777 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.26 ของเนื้อที่ประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีส่วนของดินน้อย มีพืชพรรณขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากมีสภาพดินที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมของมนุษย์ เช่น สนามบิน หาด สุสาน เหมืองแร่ร้าง ที่ลุ่มน้ำขัง นาเกลือ พื้นที่ชุมชน เป็นต้น บางพื้นที่สามารถนำมาใช้ปลูกพืชได้แต่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพดินเป็นอย่างมาก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2566)
[1] ข้อมูลสถานภาพทรัพยากรดินของประเทศไทย พ.ศ. 2561 ปรับปรุงจากฐานข้อมูลทรัพยากรดินของประเทศไทย พ.ศ. 2558 ด้วยการจำแนกข้อมูลทรัพยากรดินมาตรส่วน 1:25,000 ตามลักษณะและสมบัติดิน แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ดินที่มีศักยภาพสำหรับการเกษตร ดินที่มีศักยภาพต่ำสำหรับการเกษตร พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน และพื้นที่อื่น ๆ
[2] ดินที่มีศักยภาพสำหรับการเกษตร หมายถึง ดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตภายใต้การจัดการพื้นฐาน โดยทั่วไปมีความเหมาะสมสำหรับปลูกพืชโดยไม่จำเป็นต้องมีการจัดการดินเป็นพิเศษ หรือ หากมีการจัดการดินให้ดีขึ้น ก็จะได้ผลผลิตสูงขึ้นคุ้มต่อการลงทุน
[3] ดินที่มีศักยภาพต่ำสำหรับการเกษตร หมายถึง ดินมีศักยภาพต่ำในการให้ผลผลิตของพืช ดินมีสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างที่ไม่ค่อยเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช หากนำมาใช้ปลูกพืชจำเป็นต้องมีการจัดการดินเป็นพิเศษกว่าดินทั่วไป ซึ่งทำให้มีการลงทุนสูงขึ้นและมักให้ผลผลิตไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
[4] ดินเสื่อมโทรม หมายถึง ดินที่อยู่ในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการผลิตทางการเกษตร เนื่องจากสมบัติต่างๆ ของดินไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น สมบัติทางเคมีของดินมีสภาพเป็นกรดจัด เค็มจัด ทางด้านกายภาพของดิน สูญเสียโครงสร้าง เกิดการอัดตัวแน่น ขาดความโปร่งพรุน และดินอยู่ในสภาวะไม่สมดุล ความเสื่อมโทรมของดินจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความเสื่อมโทรมของที่ดิน เนื่องจากดินเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน
รายการตัวชี้วัดหลัก
-
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ
-
มูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน (2554-2565)
-
มูลค่าการนำเข้า-ส่งออก และดุลการค้า (2554-2565)
-
รายได้ ค่าใช้จ่าย และภาวะหนี้สินของครัวเรือน (2550-2564)
-
จำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวจากชาวต่างประเทศ (2554-2565)
-
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (2554-2565)
-
มูลค่าและอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (2554-2565)
-
สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ของรายจ่าย (2553-2562)
-
สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ของรายได้ (2553-2562)
-
สถานการณ์ด้านสังคม
-
จำนวนและอัตราผู้ป่วยจากโรคเฝ้าระวัง (2551-2565)
-
จำนวนและอัตราการขยายตัวของประชากร (2553-2565)
-
จำนวนประชากร จำแนกวัยเด็ก วัยแรงงาน และวัยสูงอายุ (2553-2565)
-
จำนวนผู้ย้ายถิ่นและอัตราการย้ายถิ่น (2554-2565)
-
จำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงาน (2554-2565)
-
ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน
-
ปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมี (2552-2565)
-
ปริมาณการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร (2552-2565)
-
สถานภาพทรัพยากรดิน พ.ศ. 2561
-
พื้นที่การสูญเสียดินในประเทศไทย พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2563
-
ประเภทการใช้ที่ดิน (2551-2564)
-
จำนวนเกษตรกรและพื้นที่เพาะปลูกเกษตรอินทรีย์ (2560-2564)
-
พื้นที่เกษตรที่เสียหายจากอุทกภัยและภัยแล้ง (2553-2563)
-
ทรัพยากรแร่
-
จำนวนประทานบัตรแร่ (2559-2566)
-
ปริมาณการผลิต การใช้ การนำเข้า และการส่งออกแร่ (2558-2565)
-
มูลค่าการผลิต การใช้ การนำเข้า และการส่งออกแร่ (2554-2565)
-
จำนวนการร้องเรียนจากปัญหาผลกระทบการทำเหมืองแร่ (2558-2565)
-
พลังงาน
-
ความยืดหยุ่นของการใช้พลังงานต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (2554-2565)
-
ค่าความเข้มข้นของการใช้พลังงาน (2552-2565)
-
ปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียน (2552-2565)
-
ปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (2554-2565)
-
ปริมาณการนำเข้า (สุทธิ) พลังงานขั้นต้น (2554-2565)
-
สัดส่วนผลิตพลังงานขั้นต้น (2554-2565)
-
ปริมาณการผลิตพลังงานขั้นต้น (2554-2565)
-
ปริมาณการใช้พลังงานทดแทน (2552-2565)
-
ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
-
จุดความร้อนสะสม (2560-2565)
-
พื้นที่ป่าชุมชน (2556-2565)
-
พื้นที่ถูกไฟไหม้ทั่วประเทศแยกรายภาค (2560-2565)
-
จำนวนสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าในคดีค้าสัตว์ป่า (2554-2565)
-
คดีและจำนวนผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่า (2554-2565)
-
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (พ.ศ. 2556-2565)
-
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ (2561-2565)
-
จำนวนคดีบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์ (2554-2565)
-
สถิติการดับไฟป่าทั่วประเทศแยกรายภาค (2560-2565)
-
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์ที่ถูกบุกรุก (2552-2565)
-
พื้นที่ป่าไม้ (2556-2565)
-
ทรัพยากรน้ำ
-
สถิติความเสียหายจากสถานการณ์ภัยแล้ง (2554-2565)
-
ความเสียหายจากอุทกภัย (2554-2565)
-
การจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝน (2561-2565)
-
การจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง (2561-2565)
-
ความต้องการใช้น้ำ (2560-2565)
-
ปริมาณน้ำบาดาลที่กักเก็บ (2561-2565)
-
ปริมาณน้ำบาดาลที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย (2561-2565)
-
ปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างขนาดกลางและใหญ่ (2552-2565)
-
ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปี (2558-2565)
-
ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปี (2554-2565)
-
การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ พ.ศ. 2563 (Integrated Water Resource Management; IWRM)
-
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-
สัตว์ทะเลหายากเกยตื้น (2555-2565)
-
พื้นที่ป่าชายเลนคงสภาพ (2539-2563)
-
พื้นที่แนวปะการัง (2555-2565)
-
พื้นที่แหล่งหญ้าทะเล (2561-2565)
-
ปริมาณสัตว์น้ำเค็ม (2554-2565)
-
ปริมาณการจับสัตว์น้ำต่อหน่วยลงแรงประมง (2551-2565)
-
พื้นที่กัดเซาะชายฝั่ง (2560-2564)
-
ความหลากหลายทางชีวภาพ
-
ชนิดพันธุ์สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ถูกคุกคาม (2548 2559 2563)
-
ชนิดพันธุ์พืชในประเทศไทยที่ถูกคุกคาม (2558 2563)
-
คุณภาพอากาศ
-
ปริมาณก๊าซโอโซน (O3) (2553-2565)
-
ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) (2554-2565)
-
ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) (2553-2565)
-
คุณภาพเสียง
-
ระดับเสียง (2554-2565)
-
คุณภาพน้ำ
-
คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง (2552-2565)
-
คุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (2552-2565)
-
ขยะมูลฝอย
-
จำนวนสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชน (2560-2565)
-
ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนต่อคนต่อวัน (2552-2565)
-
ปริมาณขยะมูลฝอย (2553-2565)
-
จำนวนสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนที่เปิดดำเนินการถูกต้อง (2559-2563)
-
ของเสียอันตราย
-
ปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชน (2554-2565)
-
ปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรม (อันตรายและไม่อันตราย) (2558-2565)
-
ปริมาณของเสียอันตราย (2553-2565)
-
ปริมาณการนำเข้า - ส่งออกซากอิเล็กทรอนิกส์ (2560-2565)
-
มูลฝอยติดเชื้อ
-
ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ (2554-2565)
-
สารอันตราย
-
ปริมาณการนำเข้าสารอันตรายภาคอุตสาหกรรม (2554-2565)
-
สิ่งแวดล้อมชุมชน
-
จำนวนและสัดส่วนพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร (2554-2566)
-
จำนวนและสัดส่วนประชากรในเขตเมือง (2553-2565)
-
จำนวนชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร (2555-2564)
-
การร้องเรียนมลพิษ อุบัติภัย และเหตุฉุกเฉินจากสารเคมี
-
จำนวนเหตุฉุกเฉินและอุบัติภัยด้านมลพิษ (2551-2565)
-
จำนวนเรื่องร้องเรียนมลพิษ (2556-2565)
-
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
-
จำนวนแหล่งสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ (2561-2566)
-
คุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ประเภทถ้ำ (2561-2565)
-
คุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ประเภทน้ำตก (2561-2565)
-
คุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ประเภทภูเขา (2561-2565)
-
คุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา (2561-2565)
-
จำนวนแหล่งโบราณสถานที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน (2552-2564)
-
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ
-
เหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย (2556-2566)
-
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของประเทศไทยจำแนกตามภาคส่วน (2543-2562)
-
ค่าเฉลี่ยระดับน้ำทะเลสัมพัทธ์ ณ สถานีตรวจวัด (2553-2565)
-
อุณหภูมิเฉลี่ย (2551-2565)
-
ร้อยละของปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปีที่ต่างจากค่าปกติ (2556-2565)
-
ปริมาณฝนเฉลี่ย (2556-2565)
-
ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และต่อหัวประชากร (2539-2565)